พระพุทธศาสนามีสาระที่เป็นประโยชน์
มีความสำคัญทั้งในด้านทฤษฎีที่เป็นเหตุเป็นผล และวิธีการที่เป็นสากล
เหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย
รวมทั้งมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางพุทธศาสนิกชนพึงวิเคราะห์และตระหนักในคุณค่าของทฤษฎีวิธีการและหลักปฏิบัติเหล่านั้นน้อมนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตเพื่อความสงบสุขและความเจริญของตนเองและสังคมอ่านเพิ่มเติม
วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558
บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก
1.1
หลักการสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง
พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ
ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน
พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์
อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
วันมาฆบูชา
ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
วันมาฆบูชาเป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญอันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา
คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนสาม ดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์
แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด
วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือนสี่ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่
พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ คือ
หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๙ เดือน
ความประจวบกันพอดีของเหตุการณ์ในวันนี้ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อัศจรรย์
มีสี่ประการคือ
ประการแรก
เป็นการมาชุมนุมกันของพระสงฆ์สาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป
เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา โดยมิได้นัดหมาย
ประการที่สอง
พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
ประการที่สาม
พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าด้วยวิธี
เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ประการที่สี่
วันนั้นดวงจันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษ์เต็มบริบูรณ์
ความพร้อมกันขององค์สี่ประการจึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
สังฆคุณ 9
พระสงฆ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หมายถึง
ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม
ผู้ที่จะเป็นพระสงฆ์ได้จะต้องผ่านการบวชโดยวิธีหนึ่งใน
3 วิธี ได้แก่
1. การบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เรียกว่า
เอหิกภิกขุอุปสัมปทา
2. การบวชด้วยการรับไตรสรณคมน์ เรียกว่า
ติสรณคมนูปสัมปทา
3. การบวชที่คณะสงฆ์ยอมรับเข้าหมู่โดยมติเอกฉันท์
เรียกว่า ญัตติตุตถกัมมอุปสัมอุปทา
พระสงฆ์มี 2 ประเภทคือ
1. สมมุตสงฆ์ คือ พระภิกษุที่บวชในพระพุทธศาสนา
ศึกษาเล่าเรียนตามพระวินัย
2. อริยสงฆ์ คือ
พระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจนเป็นพระอริยบุคคลบรรลุตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอรหันต์ อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก
มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ
เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า
บุคลาธิษฐาน อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งต่างกับการบริหารกาย
เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต
จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ
คือการทำสมาธินั่นเอง อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง
พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของช่างทำดอกไม้
มีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำพวงมาลัยทุกวันเพื่อไว้ขายเป็นประจำ
นางได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)